ยินดีต้อนรับ

Wellcome to Krunoi 's blogger

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ได้รับความสนใจในวงการบริหารโรงเรียนมากในปัจจุบัน เพราะเป็นรูปแบบที่น่าจะสอดคล้องกับแนวทางการบริหารตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาก ในเรื่องนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ประมวลหลักการและแนวคิดในการบริหารโรงเรียนโดยใช้รูปแบบนี้หลายคน
1) ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา และจัดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาของแต่ละแห่งทำหน้าที่กำกับ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาของตนเองใน 4 ด้านคือ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป
2) การบริหารและจัดการสถานศึกษา (SBM) มุ่งให้การบริหารโรงเรียน การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและมีมาตรฐาน เพราะในการบริหารโรงเรียน ด้วยวิธีการ หรือวิธีคิดแบบเดิมนั้น
(1) โรงเรียนจะถูกควบคุมโดยหน่วยงานหรือตัวแทนของส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่
(2) นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนมักจะถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง
(3) การบริหารมักจะไม่ตอบสนองหรือไม่ตรงกับปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของโรงเรียน
(4) สมาชิกที่อยู่โรงเรียนและชุมชนที่ตั้งของโรงเรียนจะไม่มีอำนาจ ไม่ (ค่อยจะ) ได้มีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดทิศทางการบริหารและจัดการโรงเรียนในฐานะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stake-holder) กับโรงเรียนโดยตรง
3) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจะมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นการเน้นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน
(2) เป็นการกระจายอำนาจการบริหารจัดการไปยังโรงเรียนโดยตรง
(3) เป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วม (participation) เป็นหลักสำคัญ
(4) มีความเชื่อว่าโรงเรียนบริหารจัดการตนเองได้
(5) ให้โรงเรียนมีอำนาจและความรับผิดชอบโดยตรงต่อการดำเนินงานของโรงเรียนด้วยตนเอง
(6) มีความเชื่อว่าโรงเรียนมิใช่เพียงเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายหรือตามแผนงานที่หน่วยเหนือกำหนดเท่านั้น แต่เป็นหน่วยปฏิบัติที่สามารถวิเคราะห์ปัญหา สามารถกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการได้ด้วยตนเองสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย 55
4) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจะต้องมีการลดอำนาจสั่งการ จากระดับบนมาให้สภาโรงเรียนหรือคณะกรรมการโรงเรียน และถ่ายโอนอำนาจการบริหารจัดการจากเขตการศึกษามาสู่โรงเรียนโดยตรง ทำให้การบริหารโรงเรียนเป็นการตัดสินใจ ณ ฐานปฏิบัติ (Site-baseddecision-making)โรงเรียนจะมีอำนาจมากขึ้นในการตัดสินใจและต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อ:
(1) วางแผนพัฒนาโรงเรียน
(2) การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
(3) การพัฒนาบุคลากร
(4) การจัดการการเงินและการงบประมาณ
5) ดังนั้น จะต้องมีการให้อำนาจ (empower) โรงเรียนในการบริหารจัดการตนเอง โดยระบบการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
6) หลักปฏิบัติที่สำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีดังนี้
(1) กระจายอำนาจการบริหารจัดการไปยังสถานศึกษาหรือโรงเรียนโดยตรง
(2) ให้โรงเรียนมีอำนาจและต้องรับผิดชอบการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ
(3) เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งรูปแบบการมีส่วนร่วมที่นิยมใช้กันมากคือ การบริหารโดยคณะกรรมการโรงเรียนคณะกรรมการโรงเรียนโดยทั่วไปประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ผู้แทนครู ผู้ปกครองและผู้แทนชุมชน โดยร่วมกันมีบทบาทในการบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนโดยตรงได้มากที่สุด
7) การบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากกระแสความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้ประสบความสำเร็จจากการประยุกต์ใช้หลักการ วิธีการ และกลยุทธ์ในการทำให้องค์การธุรกิจอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น กระจายอำนาจการบริหารจัดการ เพิ่มอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และการปฏิบัติไปยังหน่วยปฏิบัติ ทำให้องค์การหรือหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้อย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างกำไรและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้นการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นกลยุทธที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปรับปรุงการศึกษา และการดำเนินงานให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่นิยมแพร่หลาย
8) โรงเรียนต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและแบบแผนการทำงานของโรงเรียน ให้เป็นผู้รู้จักคิดริเริ่มด้วยตนเอง คิดช่วยตนเอง สร้างตนเองให้เข้มแข็ง บริหารโดยการริเริ่มด้วยตนเองและรู้จักรับผิดชอบตนเองการบริหารในรูปแบบนี้ก่อให้เกิดการปฏิรูปที่การบริหารโรงเรียน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทยจะมีประสิทธิภาพ เมื่อดำเนินการตามเงื่อนไขต่อไปนี้
(1) มีการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาโดยตรง
(2) บริหารโดยคณะกรรมการ เน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่แบบการร่วมมือ (co-operation) อย่างที่เคยเป็นมา
10) รูปแบบและแนวปฏิบัติ ซึ่งอาจจะมีทางเลือก (alternative) ต่อไปนี้
(1) รูปแบบบริหารโดยชุมชนเป็นหลัก
(2) รูปแบบบริหารโดยผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก
(3) รูปแบบบริหารโดยเป็นโรงเรียนในกำกับ (Charter school)
(4) รูปแบบบริหารแบบเอกชน
11) เงื่อนไขความสำเร็จ
(1) ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนต้องมีอำนาจอย่างแท้จริง ในการบริหารงบประมาณบุคลากร และหลักสูตร
(2) การใช้อำนาจหน้าที่เน้นอยู่ที่การใช้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นหลักสำคัญ
12) กลยุทธ์สำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
(1) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
(2) การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา และให้มีการกำหนดมาตรฐานงานของคณะกรรมการสถานศึกษาให้ชัดเจน
(3) การสรรหาและการคัดเลือกคณะกรรมการสถานศึกษา ต้องให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถ เสียสละ และเป็นตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ อย่างแท้จริง
(4) ต้องจัดการฝึกอบรม/สัมมนาผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ให้มี(1) ความรู้ความเข้าใจ (2) พัฒนาทักษะ (3) ปรับบทบาทที่เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ให้ชัดเจน
(5) ส่งเสริมให้ครู อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด
(6) จัดให้มีเครือข่ายคณะกรรมการสถานศึกษา
(7) ให้การสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถดำเนินงาน ตามแนวการบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐาน และสามารถรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียนของตนเองแบบเบ็ดเสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น